วันอังคารที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ประเภทของนิมิต และวิธีการภาวนา



ประเภทของนิมิต

1. บริกรรมนิมิต คือนิมิตขั้นเตรียมหรือเริ่มต้น ได้แก่สิ่งใดก็ตามที่กำหนดเป็นอารมณ์ เห็นลัว ๆ ลาง ๆ
2. อุคคหนิมิต คือนิมิตที่ใจเรียนหรือนิมิตติดตา ได้แก่บริกรรมนิมิตที่เพ่งหรือกำหนดจนเห็นเป็นภาพติดตาติดใจ เห็นชัดเจน 100 %

3. ปฏิภาคนิมิต = นิมิตเสมือนนิมิตคู่เปรียบ ได้แก่นิมิตที่เป็นภาพเหมือนของอุคคหนิมิต แต่ลึกเข้าไปอีกจนเป็นภาพที่สามารถนึกขยายหรือย่อส่วนได้ตามปรารถนานิมิตจะเปลี่ยนจากของมีสีกลายเป็นของที่มีลักษณะใส สว่าง นุ่มนวล


ภาเวตัพพาติ = ภาวนา = ธรรมที่บัณฑิตทั้งหลายพึงทำให้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก และครั้งหลัง ๆ ให้ติดต่อกันเป็นนิจ จนถึงเจริญขึ้น

สัมมาอะระหัง = ทำงสิ่งที่ถูกต้องดีงาม และไกลจากสิ่งชั่วร้าย

วิธีการภาวนา

1. ภาวนาที่ศูนย์กลางกาย

2. ภาวนาคล้ายเสียงที่ละเอียดอ่อน
3. ภาวนาเรื่อยไป

4. การทำภาวนาเหมือนกับการขี่จักรยาน
5. สิ้นสุดการภาวนา

สิ่งที่จะช่วยทำให้รักษาสมาธิของเราไว้ได้

1. อาวาส ที่อยู่ ที่อาศัย ที่หลับและที่นอน

2. โคจร สถานที่ที่ควรไป

3. ภัสสะ ถ้อยคำ

4. ปุคคละ บุคคล

5. โภชนะ อาหาร

6. อุตุ ฤดู
7. อริยาบถ การเดิน นั่ง นอน

โคจร 3 ลักษณะ

1. โคจรที่ควรเข้าไปอาศัย หมายถึง กัลยาณมิตรผู้ถึงพร้อมด้วยกถาวัตถุ 10 ประการ

2. โคจรที่ควรรักษา หมายถึง มรรยาทหรืออาจาระที่ดีงามของพระภิกษุ (สำรวม)

3. โคจรที่ควรใส่ใจ หมายถึง ที่ที่ใจควรเที่ยวไป หมายถึง สติปัฏฐาน 4
3.1 กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน หมายถึงการตั้งสติตามเป็นกายในกายหรือกายต่าง ๆ ตั้งแต่กายมนุษย์ละเอียดหรือกายฝัน จนถึงกายธรรมระดับต่าง ๆ

3.2 เวทนานุปัสสนาสติปัฎฐาน หมายถึงการตั้งสติตามเห็นเวทนาในเวทนา คือความรู้สึกสุขทุก ของกายต่าง ๆที่ซ้อนกันอยู่ในกายมนุษย์นี้

3.3 จิตตานุปัสสนาสติปัฎฐาน หมายถึงการตั้งสติตามเห็นจิตในจิต คือดวงจิตของกายต่าง ๆที่ซ้อนกันอยู่ในกายมนุษย์

3.4 ธัมมานุปัสสนาสติปัฎฐาน หมายถึงการตั้งสติตามเห็นธรรมในธรรม คือดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายต่าง ๆ ตั้งแต่กายมนุษย์จนถึงกายธรรม

ไม่มีความคิดเห็น: